แหล่งข้อมูล

มาอัพไซเคิลกันเถอะ!

ระดับเริ่มต้น
Photo: © iStock-664980412_Rawpixel
1 Star2 Stars3 Stars4 Stars5 Stars (1 )
Loading...
ทรัพยากร
โครงการ
วิชา
วิทยาศาสตร์โลก
หัวข้อ
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การพัฒนาอย่างยั่งยืน
เวลาสำหรับกิจกรรม
45-60 นาที

ในปัจจุบันนี้มีนวัตกรรมมากมายที่ถูกคิดค้นเพื่อให้เราดำเนินชีวิตได้ขึ้นออกมาจำนวนมาก พลาสติกเองก็เป็นหนึ่งในนวัตกรรมนั้น แต่เราจะเห็นได้ว่าปัจจุบัน มลพิษจากพลาสติกเป็นหนึ่งในปัญหาสิ่งแวดล้อมที่โลกกำลังเผชิญอยู่ ณ ตอนนี้เป็นสิ่งที่ต้องได้รับการจัดการอย่างเร่งด่วนที่สุด

Sience S
Technology T
Engineering E
Mathematics M

ที่เกี่ยวข้อง

เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

บทนำ

ในปัจจุบันนี้มีนวัตกรรมมากมายที่ถูกคิดค้นเพื่อให้เราดำเนินชีวิตได้ขึ้นออกมาจำนวนมาก พลาสติกเองก็เป็นหนึ่งในนวัตกรรมนั้น แต่เราจะเห็นได้ว่าปัจจุบัน มลพิษจากพลาสติกเป็นหนึ่งในปัญหาสิ่งแวดล้อมที่โลกกำลังเผชิญอยู่ ณ ตอนนี้เป็นสิ่งที่ต้องได้รับการจัดการอย่างเร่งด่วนที่สุด

วัฒนธรรมการทิ้งขยะไม่เป็นที่นั้นส่งผลกระทบร้ายแรง ในปัจจุบันนี้เราพบว่าพลาสติกเข้าไปอยู่ในการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ ทั้งบนบก ในแหล่งน้ำ สัตว์นานาชนิด สัตว์ปีก และแม้กระทั่งสิ่งมีชีวิตในทะเล ไมโครพลาสติกที่เป็นอันตรายมีอยู่ทุกที่บนโลกตั้งแต่ยอดเขาเอเวอเรสต์ไปจนถึงร่องลึกก้นสมุทรมาเรียนา

หลายประเทศให้คำมั่นที่จะดำเนินการจัดการปัญหาจากพลาสติกโดยการ บังคับใช้มาตรการอย่างเข้มงวดในการห้ามใช้วัสดุเหล่านี้และกำหนดโครงการ รีไซเคิลที่มีประสิทธิภาพโดยความคิดริเริ่มอันยอดเยี่ยมเหล่านี้กำลังได้รับการพูด ถึงจากรัฐบาลในหลายประเทศในวงกว้าง แต่มีอะไรบ้างที่เราสามารถทำได้ในบ้านและ ในพื้นที่ชุมชนของเราเพื่อลดการใช้พลาสติกของเราด้วยทรัพยากรที่เรานั้นมีอยู่แล้ว

และเรามีวิธีที่สามารถนำมาอัพไซคลิ่ง (Upcycling) ได้! การยืดอายุของวัสดุเหลือใช้โดยการนำกลับมาใช้ใหม่ให้เกิดประโยชน์ด้วยการเพิ่มมูลค่านั้นเรียกว่า อัพไซคลิ่ง

กิจกรรมนี้จะเปิดโลกทัศน์ของเราสู่ความเป็นไปได้ที่ไม่มีที่สิ้นสุดของการใช้แนวคิดทางวิทยาศาสตร์ง่ายๆเพื่อดัดแปลงขยะให้เป็นสิ่งที่มีประโยชน์และตั้งคำถามถึงความจำเป็นในการซื้อผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ถูกผลิตขึ้นใหม่

วัตถุประสงค์หลัก
  • เด็ก ๆ จะได้เรียนรู้ว่าการเคลื่อนที่ของน้ำไปตามท่อเล็กๆ (Capillary action) สามารถช่วยให้พวกเขาสร้างระบบรดน้ำต้นไม้ด้วยตนเองและเข้าใจประสิทธิภาพของน้ำได้
  • เด็กๆจะได้มีความเข้าใจสัญลักษณ์รีไซเคิลพลาสติกที่ติดอยู่ที่บรรจุภัณฑ์ ซึ่งจะช่วยให้พวกเขาแยกขยะได้ดีขึ้น
  • เด็กๆ จะเข้าใจว่าอัพไซคลิ่งเป็นวิธีหนึ่งในการจัดการปัญหาขยะด้วยตัวเองและสามารถนำไปปฏิบัติได้ง่ายๆ ที่บ้าน
  • เด็ก ๆ จะเข้าใจว่าการอัพไซคลิ่งอาจเป็นเส้นทางไปสู่โอกาสในการเป็นผู้ประกอบการเชิงนวัตกรรมในอนาคต
คำถามชี้นำ
  1. อะไรที่ทำให้น้ำสามารถซึมเข้าเส้นด้ายได้ ตัวอย่างของกระบวนการนี้เราสามรรถพบเห็นได้ตามธรรมชาติได้หรือไม่ (รากพืชดูดน้ำจากพื้นดิน)
  2. การแยกขยะคืออะไร จำเป็นต้องทำหรือไม่
  3. ขยะพลาสติกที่เกิดขึ้นในบ้านของเราในแต่ละวันนั้นมีมากเพียงใด เราสามารถนำขยะทั้งหมดไปรีไซเคิลได้หรือไม่? (แนะนำสัญลักษณ์รีไซเคิลพลาสติก)
  4. ขวดที่เราใช้ในกิจวัตรประจำวันของเราสามารถรีไซเคิลได้หรือไม่ ในการรีไซเคิลต้องใช้พลังงานเท่าไหร่ (หารือเกี่ยวกับขั้นตอน
    ในการรีไซเคิลขวดพลาสติกประเภท PETE 1 และสิ่งของที่เราสามารถทำขึ้นจากพลาสติก PETE 1 ได้ เช่น เฟอร์นิเจอร์ พรม ภาชนะใส่ของ เป็นต้น)
  5. ใครเป็นคนรีไซเคิล มีข้อจำกัดในกระบวนการนี้หรือไม่
  6. เราสามารถทำอะไรกับขยะพลาสติกในบ้านของเราได้หรือไม่? (แนะนำไอเดียรีไซเคิลต่างๆ เช่น การใช้ถ้วยโยเกิร์ตมาทำเป็นที่เก็บอุปกรณ์ เครื่องเขียน หรือ การทำกระดาษแฮนด์เมดจากเศษกระดาษ เป็นต้น)

ผู้เขียน

Yoshida Menon and Preveena Nandakumar