แหล่งข้อมูล

แบ่งปันกันเพื่อโลกที่ดีกว่า

ระดับเริ่มต้น
Coins growth Photo: © iStock-1280698704
1 Star2 Stars3 Stars4 Stars5 Stars (2 )
Loading...
ทรัพยากร
โครงการ
วิชา
วิทยาศาสตร์โลก
หัวข้อ
ระบบนิเวศ การพัฒนาอย่างยั่งยืน
เวลาสำหรับกิจกรรม
15-30 นาที

กิจกรรมนี้นำเสนอการสอนเรื่องโศกนาฏกรรมของทรัพยากรส่วนรวม (the Tragedy of the Commons) ที่เข้าใจได้ง่ายและสนุกสนาน ในกิจกรรมนี้แต่ละกลุ่มจะต้องแย่งชิงขนมหวานโดยที่จะต้องไม่สื่อสารกับสมาชิกในทีมโดยจะต้องเผชิญกับอุปสรรคและ “โศกนาฏกรรม” ของทรัพยากรที่ใช้ร่วมกันในรอบแรกของเกม

Sience S
Technology T
Engineering E
Mathematics M

ที่เกี่ยวข้อง

เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

บทนำ

กิจกรรมนี้นำเสนอการสอนเรื่องโศกนาฏกรรมของทรัพยากรส่วนรวม (the Tragedy of the Commons) ที่เข้าใจได้ง่ายและสนุกสนาน ในกิจกรรมนี้แต่ละกลุ่มจะต้องแย่งชิงขนมหวานโดยที่จะต้องไม่สื่อสารกับสมาชิกในทีมโดยจะต้องเผชิญกับอุปสรรคและ “โศกนาฏกรรม” ของทรัพยากรที่ใช้ร่วมกันในรอบแรกของเกม ในรอบต่อมาสมาชิกในทีมจะมีโอกาสได้วางแผนร่วมกันเพื่อเล่นในรอบต่อ ๆ ไป เผื่อผู้เรียนจะได้เรียนรู้การแบ่งปันทรัพยากรอย่างเท่าเทียม โดยทุกคนจะได้ขนมหวานมาครอบครอง

เรามาสามารถอนุรักษ์ทรัพยากรที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้อย่างเช่น ต้นไม้ ปลา หากเรามีการบริหารจัดการที่เหมาะสม อย่างไรก็ตามหากเราใช้อย่างฟุ่มเฟือยทรัพยากรเหล่านี้ก็จะหมดลงอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะทรัพยากรที่มีความต้องการสูง ทฤษฎีโศกนาฏกรรมของทรัพยากรส่วนรวมของ Garrett Hardin นั้นระบุว่าโดยธรรมชาติของมนุษย์แล้วมีความเห็นแก่ตัวไม่ค่อยคำนึงส่วนรวมเท่าไหร่นัก ดังนั้นการบริหารจัดการทรัพยากรที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้จึงมีความสำคัญมาก ยิ่งประชากรมนุษย์ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ยิ่งมีความจำเป็นที่ต้องร่วมมือกันและเสียสละเพื่อส่วนรวม เพื่อผลประโยชน์ต่อทุกฝ่ายในอนาคต

วัตถุประสงค์หลัก
  • ผู้เรียนได้ฝึกกำหนดกลยุทธ์ในการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืนผ่านสถานการณ์การจำลองในเกม
  • ผู้เรียนได้ฝึกการใช้ทรัพยากรหมุนเวียนผ่านการใช้เหรียญในเกม
  • ผู้เรียนได้ฝึกวิเคราะห์ / เปรียบเทียบการใช้ทรัพยากรระหว่างสถานการณ์จำลองในเกมกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริง
คำถามชี้นำ
  1. ทราบหรือไม่ว่าทรัพยากรที่ใช้เเล้วทดเเทนได้ เเละทรัพยากรที่ใช้เเล้วหมดไปคืออะไร
  2. ให้ลองยกตัวอย่างของทรัพยากรที่ใช้เเล้วทดเเทนได้เเละทรัพยากรที่ใช้เเล้วหมดไป
  3. ทราบหรือไม่ว่าทรัพยากรเหล่านี้เอามาทำประโยชน์ใช้สอยอะไรบ้าง
  4. มีเรื่องที่ต้องคำนึงหรือข้อปัญหาอะไรบ้างจากการใช้ทรัพยากรเหล่านี้
  5. แล้วทำไมปัญหาเหล่านี้ถึงเกิดขึ้น
  6. จะเกิดอะไรขึ้นหากทรัพยากรเหล่านี้หมดไป
  7. เราจะมีแนวทางแก้ไขอย่างไรบ้าง
  8. ทำไมความร่วมมือกันที่จะอนุรักษ์ทรัพยากรเหล่านี้จึงเป็นเรื่องสำคัญ
  9. ในชุมชนของผู้เรียนมีมีการร่วมมือช่วยกันแก้ปัญหาในเรื่องนี้อย่างไรบ้าง

ผู้เขียน

Ruby R. Cristobal, Ph.D. (Philippines) For the Common Good activity was developed by Kurt and Ursula Frischknecht and Karen Zimbelman found in Thinking Globally and Acting Locally: Environmental Education Teaching Activities by Lori D. Mann and William B. Stapp