STEM ย่อมาจากวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์ คำนี้เป็นมากกว่าตัวย่อ เพราะเป็นตัวแทนของแนวทางการศึกษาที่บูรณาการสี่สาขาวิชาเหล่านี้ไปใช้เป็นแม่แบบการเรียนรู้ที่รวมเป็นหนึ่งตามการประยุกต์ใช้ในโลกแห่งความเป็นจริง

เหตุใด STEM จึงสำคัญต่อการเรียน?

ซึ่งล้วนเป็นทักษะที่นักเรียนต้องการเพื่อนำไปสู่ความสำเร็จในโลกปัจจุบันที่ต้องตอบสนองต่อความสนใจและเป้าหมายด้านอาชีพเฉพาะทาง STEM

ไม่เหมือนกับวิธีเรียนแบบดั้งเดิมที่สอนแยกแต่ละวิชา STEM ผสมผสานวิชาเหล่านี้ในลักษณะของการเลียนแบบวิธีโต้ตอบของสาขาวิชาเหล่านี้ในโลกแห่งความเป็นจริง แนวทางนี้มักเกี่ยวข้องกับการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน ซึ่งผู้เรียนจะได้ลงมือทำโครงงานที่ออกแบบมาเพื้อแก้ปัญหาในโลกแห่งความเป็นจริงด้วยตนเอง โดยการใช้โครงงานเหล่านี้ ผู้เรียนจะได้เรียนรู้วิธีคิดอย่างมีวิจารณญาณ พัฒนาทักษะการแก้ปัญหา และทำงานร่วมกัน เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับความท้าทายและอาชีพในอนาคต

ในโลกปัจจุบันที่พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์เป็นหัวใจของความก้าวหน้าและความท้าทายทางสังคมมากมาย การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้รู้จักกับ STEM และให้โอกาสพวกเขาได้สำรวจแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับ STEM จะส่งเสริมให้เกิดความรักในการเรียนรู้ นวัตกรรม และความยืดหยุ่น

นอกจากนี้สะเต็มศึกษายังมีความสำคัญต่อการเติบโตทางสังคมและการเติบโตส่วนบุคคลด้วย โดยจะช่วยให้แต่ละคนมีความรู้และทักษะในการตัดสินใจอย่างชาญฉลาดและมีส่วนช่วยในชุมชนของตน นอกจากนี้ยังช่วยผลักดันความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ด้วยการพัฒนาบุคลากรชำนาญงานให้สามารถเป็นผู้นำในการสร้างนวัตกรรมและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีด้วย

โดยสาระสำคัญแล้ว สะเต็มศึกษาเป็นเรื่องเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมให้กับผู้เรียนในอนาคต ด้วยการให้ผู้เรียนมีเครื่องมือในการทำความเข้าใจและสร้างโลกรอบตัวเอง และเกี่ยวกับการสร้างนักแก้ปัญหา นักคิดเชิงวิพากษ์ และผู้นำที่สามารถนำทางฝ่าความซับซ้อนของศตวรรษที่ 21

STEM (สะเต็ม) มีลำดับความสำคัญสูงสุดในนโยบายและยุทธศาสตร์การศึกษาระดับชาติในทุกประเทศของอาเซียน (สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้) โดยมีตัวอย่างในกรณีต่อไปนี้:

อินโดนีเซีย
กระทรวงศึกษาธิการและวัฒนธรรมอินโดนีเซียได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของ STEM ในการสนับสนุนการริเริ่มโครงการ “Merdeka Belajar” (เสรีภาพในการเรียนรู้) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ความคิดสร้างสรรค์ และการเรียนรู้อย่างเสรีในหมู่ผู้เรียน การริเริ่มโครงการนี้จะส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้เชิงรุกผ่านแนวทางที่ใช้โครงงานเป็นฐานและแนวทางที่เน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง

มาเลเซีย
กระทรวงศึกษาธิการของมาเลเซียได้เปิดตัวโครงการ Malaysia Education Blueprint 2013 -2025 (พิมพ์เขียวการศึกษามาเลเซียปี 2013 – 2025) ซึ่งให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับสะเต็มศึกษาเพื่อให้แน่ใจว่าผู้เรียนมีความพร้อมด้านทักษะและความรู้ที่จำเป็นในการเติบโตท่ามกลางเศรษฐกิจโลก พิมพ์เขียวนี้ร่างกลยุทธ์ในการเพิ่มความสนใจในสาขาวิชา STEM ด้วยการปรับปรุงคุณภาพของสะเต็มศึกษา และการสร้างความมั่นใจในความเสมอภาคด้านการเข้าถึง

เมียนมาร์
ก่อนที่จะมีการเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ทางการเมืองของเมียนมาเมื่อเร็ว ๆ นี้ กระทรวงศึกษาธิการได้ลงมือบูรณาการสะเต็มศึกษาให้เป็นหลักสูตรเพื่อเพิ่มทักษะการแก้ปัญหาและการคิดเชิงวิพากษ์ในหมู่ผู้เรียน โดยมุ่งเน้นด้านความพยายามปรับปรุงหลักสูตรและฝึกอบรมผู้สอนให้ใช้บทเรียน STEM ที่โต้ตอบได้และนำไปใช้ได้จริงให้มากยิ่งขึ้น

ฟิลิปปินส์
กระทรวงศึกษาธิการของฟิลิปปินส์ (DepEd) สนับสนุนสะเต็มศึกษาผ่านหลักสูตร K -12 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโปรแกรมโรงเรียนมัธยมปลายที่มีการเสนอให้สะเต็มศึกษาเป็นหนึ่งในสาระสำคัญ หลักสูตรนี้ออกแบบมาเพื่อเตรียมความพร้อมให้กับผู้เรียนในวิทยาลัยและอาชีพในอนาคตในสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ประเทศไทย
กระทรวงศึกษาธิการของประเทศไทยได้ดำเนินนโยบายเพื่อเสริมสร้างสะเต็มศึกษาในทุกระดับ ซึ่งรวมถึงการพัฒนาศูนย์สะเต็มศึกษาและความคิดริเริ่มเพื่อบูรณาการสะเต็มศึกษาสำหรับใช้ในห้องเรียน เพื่อกระตุ้นความสนใจและปรับปรุงการอ่านออกเขียนได้ในวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ในหมู่ผู้เรียน

เวียดนาม
กระทรวงศึกษาธิการและการฝึกอบรมของเวียดนามได้ระบุว่า STEM เป็นเรื่องสำคัญมาก โดยให้การมุ่งเน้นในวิธีการสอนที่เป็นนวัตกรรมใหม่ ซึ่งส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเองและทักษะการแก้ปัญหาในโลกแห่งความเป็นจริง รัฐบาลได้ส่งเสริมสะเต็มศึกษาอย่างแข็งขันผ่านการแข่งขันระดับชาติ ชมรมสะเต็ม และการบูรณาการไปสู่หลักสูตรระดับชาติ

สำหรับตัวอย่างล่าสุดและคำแถลงนโยบายเฉพาะ โปรดไปที่เว็บไซต์ทางการของกระทรวงศึกษาธิการของแต่ละประเทศ หรือดูสื่อสิ่งพิมพ์ล่าสุดเกี่ยวกับนโยบายการศึกษา