แหล่งข้อมูล

สำรวจสวนหลังบ้าน

ระดับกลาง
Honey bee flying over flowers Photo: © iStock 1005384726_manfredxy
1 Star2 Stars3 Stars4 Stars5 Stars (2 )
Loading...
ทรัพยากร
โครงการ
วิชา
ชีววิทยา วิทยาศาสตร์โลก
หัวข้อ
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ระบบนิเวศ การพัฒนาอย่างยั่งยืน
เวลาสำหรับกิจกรรม
60 นาที

ในช่วงที่ผ่านมานี้ เราไม่ค่อยจะได้เห็นภาพนกทำรัง การปรากฏตัวของผีเสื้อหรือแมลงบินได้อื่น ๆ หรือแม้แต่ผึ้งน้อยที่ร่วมกันสร้างรังขนาดใหญ่

Sience S
Technology T
Engineering E
Mathematics M

ที่เกี่ยวข้อง

เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

บทนำ

ในช่วงที่ผ่านมานี้ เราไม่ค่อยจะได้เห็นภาพนกทำรัง การปรากฏตัวของผีเสื้อหรือแมลงบินได้อื่น ๆ หรือแม้แต่ผึ้งน้อยที่ร่วมกันสร้างรังขนาดใหญ่ อย่างไรก็ตามเราได้สังเกตเห็นแมลงชนิดใหม่ในสวนของเรา หลังจากการวิจัยพบว่า มีการริเริ่มปลูกพืชต่างถิ่น การใช้สเปรย์กำจัดศัตรูพืชและยาฆ่าแมลง การเกษตรกรรมพืชเดี่ยว เป็นต้น เกิดผลกระทบที่เกิดขึ้นตามมาอย่างเช่น ภาวะโลกร้อน คลื่นความร้อน น้ำท่วม ฯลฯ แม้เราจะส่งเสริมเรื่องการอนุรักษ์ธรรมชาติมากมายเพียงใด แต่เรายังขาดการปฏิบัติและการจัดการกับปัญหาอย่างยั่งยืน
ภารกิจของเราคือการสร้างความตระหนักว่าควรทำอย่างไรให้การเพาะปลูกสามารถเป็นไปแบบยั่งยืนพร้อมกับการนำพามาซึ่งผลประโยชน์ด้านเศรษฐกิจด้วย ในกิจกรรมนี้ผู้เรียนจะได้สำรวจสิ่งแวดล้อมรอบตัว เรียนรู้เกี่ยวกับพื้นพื้นเมืองรวมถึงความสำคัญของต่อการรักษาองค์ประกอบของดิน การ ร้างที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ในพื้นที่ นอกจากนี้ผู้เรียนยังจะได้เรียนรู้เรื่องเศรษฐกิจเพื่อให้การอนุรักษ์อย่างยั่งยืน

วัตถุประสงค์หลัก
  • เพื่อสร้างความตระหนักด้านความสำคัญของระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม
  • เพื่อสร้างจิตสำนึกในการรับผิดชอบเรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
  • เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจกระทบของการขยายประชากรของพืชที่มีต่อชนิดของดิน ที่อยู่อาศัย และระบบนิเวศ
  • ผู้เรียนสมารถจำแนกพืชพื้นเมืองและพันธุ์ไม้ต่างถิ่นได้
  • พัฒนาส่งเสริมแนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
คำถามชี้นำ
  1. ให้สังเกตสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว (สวนหลังบ้านหรือสวนในโรงเรียนหรือในสวนสาธารณะ) และหาพื้นที่อย่างน้อย 2-3 แห่งที่นักเรียนจะได้พบกับความหลากหลายทางชีวภาพที่แตกต่างกัน ระบุประเภทของพืชที่มีอยู่ในแต่ละพื้นที่ที่เลือกและให้เหตุผลที่เป็นไปได้สำหรับความหลากหลายทางชีวภาพที่แตกต่างกันในพื้นที่เดียวกัน (อาจเป็นเพราะปริมาณน้ำหรือแสงแดดที่แปรปรวน หรือพื้นที่อาจประกอบด้วยพืชหนาทึบซึ่งอาจเพิ่มอินทรียวัตถุในดิน เป็นต้น)
  2. วิทยากรให้คำปรึกษาผู้เรียนในการจำแนกพืชในพื้นที่ที่พวกเขาเลือก ว่าเป็นพืชพื้นเมืองหรือพืชต่างถิ่น
  3. ลองประเมินการค้นพบของตนเองกับสมาชิกดูว่ากลุ่มใดสามารถหาพื้นที่ที่ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตมากกว่ากัน และอภิปรายหาเหตุผลร่วมกัน
  4. สิ่งแวดล้อมของเราจะได้รับผลกระทบอย่างไรจากการเกษตรกรรมพืชเดี่ยว
  5. ชนิดของดินและจุลินทรีย์มีความสัมพันธ์กันอย่างไร
  6. เราสามารถแก้ปัญหาเรื่องการขาดความชื้นและอินทรีย์วัตถุในดินไม่เพียงพอต่อการอนุรักษ์พืชพรรณธรรมชาติอย่างยั่งยืนได้อย่างไร
  7. การจัดสรรพื้นที่เพื่อฟื้นฟูพืชพรรณธรรมชาติส่งผลต่อเศรษกิจอย่างไร

ผู้เขียน

Shahnila Zia, Dawood Public School