แหล่งข้อมูล

ห่อแล้วไปไหน?

ระดับกลาง
What’s in the Wrap? Photo: © iStock-1082028590
1 Star2 Stars3 Stars4 Stars5 Stars (3 )
Loading...
ทรัพยากร
การทดลอง
วิชา
วิทยาศาสตร์โลก
หัวข้อ
ระบบนิเวศ สุขภาพ การพัฒนาอย่างยั่งยืน
เวลาสำหรับกิจกรรม
30 นาที - 2 วัน ขึ้นอยู่กับกิจกรรมที่เลือก

บรรจุภัณฑ์อาหารมีรูปแบบและขนาดหลากหลาย วัสดุบางประเภทถูกเลือกมาใช้กับผลิตภัณฑ์อาหารจากเหตุผลหลายประการ เช่น เพื่อหลีกเลี่ยงการปนเปื้อนและการเน่าเสีย รวมถึงเพื่อไม่ให้เสียหายระหว่างการขนส่ง การจัดเก็บ และการบริโภค

Sience S
Technology T
Engineering E
Mathematics M

ที่เกี่ยวข้อง

เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

บทนำ

กิจกรรมนี้สร้างขึ้นเพื่อให้เด็ก ๆ จากหลายกช่วงอายุได้ศึกษาวัสดุที่ใช้สำหรับห่อหรือบรรจุอาหาร เด็ก ๆ จะได้จำแนกหรือแบ่งกลุ่มของวัสดุบรรจุภัณฑ์ตามคุณลักษณะตามการรับรู้และสังเกตของพวกเขา (ลักษณะพื้นผิว การให้ของเหลวซึมผ่านได้ ประเภทของวัสดุ เป็นต้น) และให้เหตุผลประกอบการเลือกคัดแยก ต่อไป พวกเขาจะได้พิจารณาบรรจุภัณฑ์อาหารเหล่านี้และจำแนกบรรจุภัณฑ์ที่พวกเขาเห็นอย่างละเอียดขึ้น โดยอิงจากวัสดุที่ผลิตบรรจุภัณฑ์เหล่านี้ รวมทั้งอาหารที่อยู่ภายในห่อบรรจุภัณฑ์เหล่านี้ หลังจากนั้น พวกเขาจะเข้าใจว่าอาหารที่คล้ายคลึงกันอาจจะถูกห่อไว้ในบรรจุภัณฑ์แบบเดียวกัน (ยกตัวอย่าง เช่น นมช็อคโกแลตและน้ำผลไม้มักจะถูกบรรจุไว้ในกล่องกระดาษ ส่วนผลิตภัณฑ์อาหารแห้ง เช่น กาแฟหรือซีเรียลในปริมาณที่น้อยอาจถูกห่อไว้ในถุงห่อเล็ก ๆ ถุงอลูมิเนียมฟอยล์ หรือห่อพลาสติก หากเป็นเครื่องปรุงจะมีการบรรจุไว้ในขวดพลาสติกหรือขวดแก้ว มันฝรั่งทอดจะอยู่ในกระป๋องกระดาษแข็งหรือในซองอลูมิเนียมฟอยด์ที่ปิดปากถุงไว้สนิท เป็นต้น) จากนั้นเด็ก ๆ จะสามารถเปิดดูผลิตภัณฑ์ได้ โดยอาจเป็นนมหรือน้ำผลไม้ที่อยู่ในกล่อง (และสามารถลองดื่มได้อีกด้วย) ต่อมาให้เด็ก ๆ ตรวจสอบดูความแตกต่างของวัสดุที่อยู่ด้านในกล่องและด้านนอกกล่อง จากนั้น พวกเขาจะได้ข้อสรุปว่าการห่อบรรจุภัณฑ์นั้นขึ้นอยู่กับสิ่งที่ใส่ไว้ด้านใน อีกทั้งบรรจุภัณฑ์ยังประกอบด้วยวัสดุอีกหลายชั้น เด็ก ๆ ยังสามารถตรวจดูห่อบรรจุภัณฑ์บางอย่างที่ประกอบด้วยวัสดุหนึ่งหรือสองประเภท (เครื่องดื่ม มายองเนส หรือเครื่องปรุงต่าง ๆ ก็อาจบรรจุอยู่ในขวดแก้วที่ปิดด้วยฝาโลหะ เป็นต้น)

จากนั้น ลองเชิญชวนให้เด็ก ๆ ทดสอบคุณสมบัติที่แตกต่างกันของวัสดุเพื่อหาสี น้ำหนัก พื้นผิว ความทนทาน ความอ่อนตัว การให้ของเหลวซึมผ่านได้ และสมบัติอื่น ๆ และอาจพิจารณาว่าวัสดุเหล่านี้จะนำไปใช้เป็นห่อบรรจุผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อป้องกันไม่ให้วัตถุดิบด้านในจากการปนเปื้อนและการเน่าเสีย อีกทั้งสะดวกต่อการขนส่ง การจัดเก็บ และปลอดภัยต่อการบริโภคได้อย่างไร

อย่างไรก็ตาม การสังเกตการณ์และการเรียนรู้ของผู้เรียนในครั้งนี้อ้างอิงมาจากภาพยนตร์ พวกเขาจะได้ข้อสรุปว่าบรรจุภัณฑ์มากมายอาจถูกทิ้งไว้ในหลุมฝังกลบหรือถูกปล่อยทิ้งลงทะเล และอาจต้องใช้เวลานานในการย่อยสลาย ดังนั้น สิ่งนี้จึงถือได้ว่าเป็นการคุกคามต่อสิ่งมีชีวิตทั้งบนบกและในทะเล ผู้เรียนที่อยู่ในระดับชั้นที่สูงขึ้นไปอาจเลือกทำกิจกรรมขั้นต่อไปในการค้นหาชั้นต่าง ๆ ของกล่องเครื่องดื่มที่ดื่มแล้วผ่านการทดลองที่เรียกว่า “การย่อยเยื่อ” หรือ hydropulping การทดลองนี้จะช่วยเสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์อาหารที่ถูกผลิตขึ้นจากการรวมกันระหว่างวัสดุที่ย่อยสลายทางชีวภาพได้และวัสดุที่ไม่ย่อยสลายทางชีวภาพ

วัตถุประสงค์หลัก
  1. เพื่อสังเกตและจำแนกวัสดุที่ใช้ห่ออาหาร
  2. เพื่ออธิบายว่าบรรจุภัณฑ์ห่ออาหารทำมาจากวัสดุประเภทใดบ้าง
  3. เพื่อสำรวจคุณสมบัติของวัสดุที่ใช้ผลิตเป็นบรรจุภัณฑ์
  4. เพื่อพิจารณาว่าเหตุใดวัสดุบางอย่างจึงถูกใช้เพื่อบรรจุผลิตภัณฑ์อาหารเป็นบางประเภทเท่านั้น
  5. เพื่อพิจารณาถึงผลกระทบของวัสดุดังกล่าวเมื่อกลายเป็นขยะมูลฝอยในสิ่งแวดล้อม
  6. เพื่ออภิปรายถึงการสร้างทางเลือกในการซื้อผลิตภัณฑ์อาหารที่ห่อโดยบรรจุภัณฑ์อย่างมีความรับผิดชอบ
  7. เพื่อเสนอให้เกิดการออกแบบผลิตภัณฑ์หรือวัสดุที่เป็นนวัตกรรมใหม่ ที่จะสามารถช่วยสร้างประโยชน์ได้จากวัสดุผลิตบรรจุภัณฑ์อาหาร
คำถามชี้นำ
  1. วัสดุประเภทใดถูกนำมาใช้ในการผลิตบรรจุภัณฑ์อาหาร
  2. ผู้เรียนสังเกตเห็นว่าวัสดุที่นำมาใช้ห่อผลิตภัณฑ์อาหารมีกี่ชนิด และลองหาผลิตภัณฑ์ที่มีวัสดุห่อบรรจุภัณฑ์หลายประเภท
  3. อะไรคือคุณสมบัติของวัสดุเหล่านี้ในการนำมาทำเป็นบรรจุภัณฑ์
  4. ทำไมผู้ผลิตสินค้าชนิดนี้จึงตัดสินใจเลือกห่อผลิตภัณฑ์ด้วยวิธีนี้ อะไรคือข้อดีของการใช้วัสดุเหล่านี้
  5. อะไรคือข้อเสียของการใช้วัสดุเหล่านี้

ผู้เขียน

Ruby R. Cristobal, Ph.D. (Philippines) Source: Most Essential Learning Competencies (Science), Department of Education. 2020.