แหล่งข้อมูล

ทดสอบน้ำขุ่นด้วยสมาร์ทโฟน

ระดับสูง
Exploring Water Turbidity Using A Smartphone Photo: © iStock iso_petrov
1 Star2 Stars3 Stars4 Stars5 Stars (3 )
Loading...
ทรัพยากร
การทดลอง
วิชา
ชีววิทยา เคมี ฟิสิกส์
หัวข้อ
สอบถามทางวิทยาศาสตร์
เวลาสำหรับกิจกรรม
3 ชั่วโมง

กิจกรรมนี้จะเน้นไปที่วิธีง่าย ๆ ในการวัดความขุ่นของน้ำ ความรู้นี้จะถูกนำไปใช้ในการสำรวจความขุ่นของน้ำรอบ ๆ โรงเรียน หรือที่บ้านของนักเรียน

Sience S
Technology T
Engineering E
Mathematics M

ที่เกี่ยวข้อง

เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

บทนำ

น้ำเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญมากต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอันหลากหลายบนโลก น้ำจำเป็นสำหรับการดื่ม ซักล้าง อาบ และเป็นแหล่งที่อยู่ที่สำคัญของสิ่งมีชีวิตและพืชหลากหลายชนิด ดังนั้น น้ำจึงควรได้รับการรักษาให้มีความสะอาดและปลอดภัย

ในบางพื้นที่ไม่ได้มีการจัดการน้ำที่ดี น้ำจึงมีความขุ่น กลิ่นเหม็นและอาจถึงขั้นเป็นพิษ นั่นเป็นเพราะบ่อยครั้ง น้ำถูกมองข้ามไปและมนุษย์มักทิ้งสิ่งปฏิกูลลงในแหล่งน้ำ น้ำที่มีความขุ่นเกินไปนั้นเป็นน้ำที่ไม่ปลอดภัยสำหรับการบริโภคหรือนำมาใช้ซักล้าง อีกทั้ง ในน้ำขุ่นไม่สามารถเป็นที่อยู่ของสิ่งมีชีวิตที่อาศัยในน้ำได้ เนื่องจากแสงส่องลงไปในน้ำได้น้อย อนุภาคหรือเศษต่างๆ ที่อยู่บนผิวน้ำยังอาจไปกีดขวางกระบวนการฆ่าเชื้อโดยแสงยูวี เพราะเชื้อไวรัสสามารถหลบอยู่ใต้อนุภาคเหล่านั้นได้

กิจกรรมนี้เน้นศึกษาวิธีง่ายๆ ในการวัดความขุ่นของน้ำ ความรู้ดังกล่าวจะใช้สำหรับการศึกษาความขุ่นของน้ำรอบๆ โรงเรียนหรือใกล้บ้านของนักเรียนได้ อุปกรณ์ในการวัดที่ต้องใช้คือสมาร์ทโฟน ซึ่งเป็นเครื่องมือสื่อสารที่ปัจจุบันครูและนักเรียนเกือบทุกคนสามารถเข้าถึงได้แล้ว

วัตถุประสงค์หลัก
  1. เพื่อรู้จักการจำแนกอนุภาค ชนิดที่ละลายได้ในน้ำและละลายไม่ได้ในน้ำ
  2. เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจว่า อนุภาคที่ไม่สามารถละลายได้ในน้ำนั้นสามารถตรวจพบได้ โดยการสังเกตผลจากการกระจายตัวหรือการสะท้อนของแสง
  3. เพื่อออกแบบอุปกรณ์วัดความขุ่นของน้ำอย่างง่าย โดยใช้แนวคิดเรื่องการกระจายตัว การสะท้อนหรือการถ่ายเทของแสง
  4. เพื่อเก็บข้อมูล วิเคราะห์ผลและแปรผลข้อมูล
คำถามชี้นำ
  1. แสงที่ถ่ายเทไปยังน้ำจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรเมื่อเติมสสารที่ต่างกันลงไป
  2. ความแตกต่างระหว่างสสารที่ละลายได้ในน้ำกับสสารที่ละลายไม่ได้ในน้ำที่อยู่ในความขุ่นของน้ำคืออะไร
  3. ปริมาณของสสารที่ใช้มีอิทธิพลอย่างไรต่อความขุ่นของน้ำ
  4. ระดับความขุ่นของน้ำบอกอะไรเกี่ยวกับความสะอาดของน้ำได้บ้าง

ผู้เขียน

Dr. Dharma Palekahelu, Dr. Ferdy Rondonuwu