ไข่
- ทรัพยากร
- โครงการ
- วิชา
- ชีววิทยา เคมี ฟิสิกส์
- หัวข้อ
- สอบถามทางวิทยาศาสตร์
- เวลาสำหรับกิจกรรม
- 5 วัน
ไข่นั้นเป็นอะไรที่น่าสนใจทีเดียว! เราจะมาแสดงวิธีการ “เอ็กซเรย์” ไข่ รวมถึงทำไข่ที่เด้งได้ นอกจากนี้เราก็จะพาไปสำรวจวิธีการบอกความสุกดิบของไข่ต้ม และบอกความสดของไข่เก่า ไข่จากนกชนิดต่างๆ ไม่เพียงแต่ดูแตกต่างกันเท่านั้น แต่ยังมีขนาดที่ต่างกันด้วย วิดีโอนี้ยังจะพาคุณไปค้นพบด้วยว่ามีใครอีกบ้างที่ออกไข่ได้
- บทนำ
-
เปลือกไข่นั้นทำมาจากปูนขาว น้ำส้มสายชูมีฤทธิ์เป็นกรดซึ่งจะไปละลายปูนขาว ปฏิกิริยานี้ทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ก่อตัวเป็นฟองขนาดเล็ก ภายใต้เปลือกไข่ที่แข็งแกร่งยังคงมีเยื่อบางๆ ที่เรารู้จักกันดีตอนแกะไข่ต้มกินตอนเช้า เยื่อนี้จะช่วยห่อหุ้มของเหลวภายในไข่ และป้องกันไม่ให้ “ไข่ยาง” ที่เราทดลองกันไปรั่วออกมา
วิธีการสแกนไข่ถูกใช้ในฟาร์มเลี้ยงไก่เพื่อตรวจสอบว่าไข่ได้รับการปฏิสนธิหรือไม่ หากต้องการทดสอบว่าไข่ยังสดอยู่หรือไม่ วิธีที่ดีที่สุดก็คือการทดสอบด้วยน้ำ เอาไข่ใส่ลงไปในแก้วที่เติมน้ำไว้ ถ้าไข่ยังสดอยู่ก็จะจมอยู่ด้านล่าง
หากไข่อายุประมาณหนึ่งสัปดาห์ ปลายไข่ด้านทู่จะยกตัวขึ้น หากอายุประมาณสองสัปดาห์ ไข่จะตั้งตรงอยู่ในน้ำ และหากไข่มีอายุได้สี่สัปดาห์ มันก็จะลอยขึ้นมาโดยไม่สัมผัสกับก้นแก้วเลย ไม่ควรนำมารับประทานแล้ว
การหมุนทดสอบว่าไข่นั้นดิบหรือสุกนั้นทำได้เพราะของเหลวในไข่ดิบจะต้านทานต่อการหมุน โดยจะหมุนได้แบบหน่วงๆ และโซเซเท่านั้น ในขณะที่ไข่ต้มที่ภายในแข็งตัวแล้วจะหมุนได้เหมือนก้อนหิน
สาเหตุของไข่ค่อยๆ ลอยตัวขึ้นมาอย่างช้าๆ เมื่อทดสอบความสดก็เพราะช่องอากาศภายในไข่จะมีขนาดใหญ่ขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป น้ำจะระเหยผ่านเปลือกไข่ออกมาและอากาศจะเข้าไปแทนที่ ดังนั้น ไข่ก็จะเหมือนมีห่วงยางอยู่ด้านใน และลอยขึ้นสู่ผิวน้ำหลังจากนั้นประมาณสี่สัปดาห์
นกแต่ละชนิดนั้นออกไข่ต่างกัน นักปักษีวิทยา (นักวิจัยนก) สามารถบอกได้ว่าไข่มาจากนกชนิดใด อย่างไรก็ตาม ไม่เพียงแค่นกเท่านั้นที่วางไข่ ยังมีปลา สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ แมลง และหอยที่วางไข่ด้วยเช่นกัน แม้กระทั่งสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมบางชนิดก็วางไข่ เช่น ตัวตุ่นและตุ่นปากเป็ด