แอปเปิลเปลี่ยนสี
- ทรัพยากร
- การทดลอง
- วิชา
- เคมี
- หัวข้อ
- ระบบนิเวศ สุขภาพ สอบถามทางวิทยาศาสตร์
- เวลาสำหรับกิจกรรม
- 75 phút
เชื่อหรือไม่ว่ารอบ ๆ ตัวเรานั้นมีสารละลายที่มีคุณสมบัติเป็นกรดและเบสหรือเป็นกลางมากมายที่สามารถพบได้ในชีวิตประจำวัน อย่างเช่น ผลไม้รสเปรี้ยว อย่างเช่น ส้มและมะนาว ที่มีคุณสมบัติเป็นกรด หรือเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น สบู่ ผงซักฟอก และน้ำยาล้างจาน นั้นจะมีรสขมฝาดและลื่นคล้ายสบู่เป็นสารที่มีคุณสมบัติเป็นเบส
- บทนำ
-
เชื่อหรือไม่ว่ารอบ ๆ ตัวเรานั้นมีสารละลายที่มีคุณสมบัติเป็นกรดและเบสหรือเป็นกลางมากมายที่สามารถพบได้ในชีวิตประจำวัน อย่างเช่น ผลไม้รสเปรี้ยว อย่างเช่น ส้มและมะนาว ที่มีคุณสมบัติเป็นกรด หรือเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น สบู่ ผงซักฟอก และน้ำยาล้างจาน นั้นจะมีรสขมฝาดและลื่นคล้ายสบู่เป็นสารที่มีคุณสมบัติเป็นเบส อย่างไรก็ตามสารละลายที่มีค่าความเป็นกรด – เบส สูงนั้นเป็นอันตรายต่อผิวหนังควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสโดยตรง นักเคมีจะใช้ค่าพีเอช (pH) โดยค่า pH จะอยู่ในช่วง 1-14 ถ้าค่า pH น้อยกว่า 7 สารชนิดนั้นก็จะมีฤทธิ์เป็นกรด และถ้าค่า pH มากกว่า 7 สารชนิดนั้นก็จะมีฤทธิ์เป็นเบสหรือด่าง แต่ถ้าค่า pH นั้นมีค่าเท่ากับ 7 แสดงว่าสารชนิดนั้นเป็นกลาง เราสามารถวัดค่า pH ได้โดยใช้ Universal Indicator อย่างเช่น กระดาษลิตมัส (litmus) ซึ่งจะเปลี่ยนสีไปตามค่า pH ต่าง ๆ หรือสามารถใช้ Indicator จากธรรมชาติ ยกตัวอย่างเช่น น้ำจากกะหล่ำปลีม่วง เป็นต้น
- วัตถุประสงค์หลัก
-
- ผู้เรียนได้ศึกษาการเกิดปฏิกิริยาการเกิดสีน้ำตาลของเนื้อแอปเปิลผ่านการสังเกต
- ผู้เรียนได้เรียนรู้ว่าปฏิกิริยาการเกิดสีน้ำตาลเกิดขึ้นได้อย่างไร
- ผู้เรียนได้ทดลองการป้องกันการปฏิกิริยาการเกิดสีน้ำตาลโดยใช้กรดจากผลไม้ (น้ำมะนาว)
- สร้างแนวคิดแนวคิดในการเก็บรักษาผลไม้ด้วยวิธีการแบบธรรมชาติให้กับผู้เรียน
- คำถามชี้นำ
-
- นักเรียนเคยสังเกตหรือไม่ว่าเกิดอะไรขึ้นกับผลไม้อย่างเช่น แอปเปิลหลังจากที่ถูกหั่นและวางทิ้งไว้เป็นเวลานาน
- สิ่งที่เกิดขึ้นกับแอปเปิล เกิดขึ้นกับผลไม้ชนิดอื่นหรือไม่ ? และเกิดขึ้นกับผักเช่นกันหรือไม่
- หากนักเรียนรับประทานแอปเปิลที่มีสีน้ำตาลจะปลอดภัยหรือไม่ หรือควรนำไปทิ้ง?