ไฟฟ้าพลัง <--> มอเตอร์

- ทรัพยากร
- การทดลอง
- วิชา
- วิศวกรรมศาสตร์ ฟิสิกส์
- หัวข้อ
- พลังงาน กระบวนการทางวิศวกรรม
- เวลาสำหรับกิจกรรม
- 2-3 ชั่วโมง
โครงการนี้จะให้นักเรียนได้สำรวจหัวข้อที่น่าสนใจในวิชาฟิสิกส์และวิศวกรรมผ่านเครื่องจักรง่าย ๆ เช่น การตั้งค่าเครื่องกำเนิดไฟฟ้า
- บทนำ
-
เคยสงสัยกันหรือไม่ว่าไฟฟ้ามาจากไหน ในช่วงเวลา 150 ปีที่ผ่านมา ไฟฟ้าได้เข้ามาเปลี่ยนแปลงชีวิตของมนุษย์ไปอย่างสิ้นเชิง แต่คนส่วนใหญ่ยังคงคิดเพียงว่า ไฟฟ้านั้นก็แค่มาจากสายไฟในผนังบ้านของเรา แต่จะมีใครจินตนาการไว้บ้างหรือไม่ว่าจะเป็นอย่างไรหากไม่มีไฟฟ้าใช้
การสร้างของเล่นจากขยะอาจทำได้ไม่ง่ายนัก โดยเฉพาะถ้าเป็นการสร้างเครื่องกำเนิดไฟขนาดเล็กก็จะยิ่งซับซ้อนยิ่งขึ้นไปอีก แต่เราจะได้มาลงมือทำกันในโครงงานนี้
โครงงานนี้จะทำให้นักเรียนได้เรียนรู้ในหัวข้อที่น่าสนใจเรื่องทางฟิสิกส์และวิศวกรรมศาสตร์ นับเป็นโอกาสอันดีที่จะได้เรียนรู้เกี่ยวกับเครื่องกลง่ายๆ อาทิ ชุดเครื่องกำเนิดไฟฟ้าจากมอเตอร์ นักเรียนจะได้หาคำตอบว่า เราผลิตไฟฟ้าได้อย่างไรและจะต้องใช้อะไรบ้างในการผลิตไฟฟ้า
ในการหมุนแกนมอเตอร์จะต้องใช้พลังงานจลน์ ซึ่งเป็นพลังงานที่เกิดกับวัตถุที่กำลังเคลื่อนที่ แล้วพลังงานมาจากไหนกัน คำตอบก็คือมาจาก แรงงานคน ซึ่งในที่นี้ก็คือแรงที่มาจากนักเรียนนั่นเอง
โครงงานนี้เป็นการจำลองกระบวนการออกแบบทางวิศวกรรม โดยทั่วไปการสร้างเครื่องกลมักไม่ได้สำเร็จเลยตั้งแต่การออกแบบและการทดลองครั้งแรก จุดมุ่งหมายของโครงงานก็คือสนับสนุนให้นักเรียนได้ลองออกแบบเครื่องกล ทำการทดสอบและพัฒนาแบบเครื่องกลด้วยตนเอง
แทบไม่มีวิศวกรมืออาชีพคนใดที่จะทำสำเร็จได้ตั้งแต่ครั้งแรก
- วัตถุประสงค์หลัก
-
- สร้างเครื่องกลที่สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้จากแรงงานคน
- เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างงาน การเคลื่อนที่และพลังงาน
- เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจว่าพลังงานจลน์สามารถสร้างสนามแม่เหล็กที่ผลักหรือดึงอิเล็กตรอนในวัตถุบางชิ้นได้อย่างไร
- เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจว่าโลหะ เช่น ทองแดง เป็นสื่อนำอิเล็กตรอนได้อย่างดี
- เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจว่า หากแม่เหล็กถูกทำให้เคลื่อนที่ได้เร็วผ่านขดลวดทองแดง อิเล็กตรอนจะเคลื่อนที่และจะเกิดกระแสไฟฟ้าขึ้น
- คำถามชี้นำ
-
- ระมัดระวังเมื่อต้องใช้กรรไกร มีดหรือเลื่อยในการตัดไม้หรือแผ่นโลหะ
- ระมัดระวังเมื่อใช้กาวร้อน เนื่องจากกาวมีความร้อนสูง
- ระมัดระวังเมื่อใช้หัวแร้งบัดกรี ซึ่งมีความร้อนสูงกว่ากาวร้อนมาก