ไบโอดีเซลสังเคราะห์จากน้ำมันพืชใช้แล้ว
- ทรัพยากร
- การทดลอง
- วิชา
- ชีววิทยา เคมี
- หัวข้อ
- การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พลังงาน การพัฒนาอย่างยั่งยืน
- เวลาสำหรับกิจกรรม
- 4 ชั่วโมง
นักวิทยาศาสตร์ได้พยายามตรวจสอบแหล่งพลังงานใหม่ที่ประหยัด และเป็นพลังงานหมุนเวียน ในการทดลองนี้ ไบโอดีเซลจะถูกสังเคราะห์จากขยะที่ย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ
- บทนำ
-
การใช้พลังงานเชื้อเพลิงในชีวิตประจำวันของเรามีปริมาณเพิ่มขึ้นมากอย่างยิ่ง ก่อให้เกิดขยะเมื่อใช้แล้วและส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างหนัก ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีล้ำสมัยถูกสร้างขึ้นใหม่ทุกๆ วันในรูปแบบที่แตกต่างกัน ตั้งแต่อุปกรณ์แบบแมนนวลดั้งเดิม ไปจนถึงเครื่องจักรที่ทำงานอย่างอิสระ ในขณะเดียวกัน ความกังวลเกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อมและการใช้พลังงานจากแหล่งที่ไม่สามารถหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ได้ก็ได้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เช่นกัน
พืชผักผลไม้ที่ชาวกัมพูชาส่วนใหญ่ปลูก เช่น มะพร้าว ถั่ว เพื่อใช้ทำน้ำมันมะพร้าว สามารถนำมาใช้เป็นแหล่งพลังงานหมุนเวียนได้ทั้งสิ้น พืชผักและน้ำมันพืชนั้นเป็นวัตถุดิบที่ผู้คนใช้สำหรับประกอบอาหารทุกวัน แต่หลังจากใช้เสร็จแล้วมันก็จะกลายเป็นเศษสิ่งปฏิกูลที่อาจเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมได้
ปัจจุบัน นักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับแหล่งพลังงานที่เป็นพลังงานหมุนเวียนและสามารถใช้เป็นเชื้อเพลิงได้กันอย่างแพร่หลาย หนึ่งในนั้นก็คือการสังเคราะห์ไบโอดีเซลจากขยะที่สามารถย่อยสลายได้ในธรรมชาติ นอกจากนั้น โรงงานขนาดใหญ่ มหาวิทยาลัยตะวันตก หรือกระทั่งประชาชนทั่วไปก็ยังผลิตไบโอดีเซลสำหรับใช้กับรถยนต์ของตัวเองด้วย
- วัตถุประสงค์หลัก
-
- เสริมสร้างความเข้าใจกระบวนการสังเคราะห์ไบโอดีเซลจากน้ำมันเหลือทิ้ง เช่น น้ำมันงา เป็นต้น
- ค้นหาข้อมูลที่ได้จากกระบวนการสังเคราะห์ก๊าซชีวภาพจากน้ำมัน
- เปรียบเทียบลักษณะเฉพาะและคุณภาพของน้ำมันดีเซลสังเคราะห์และไบโอดีเซล
- คำถามชี้นำ
-
- น้ำมันเหลือทิ้งนั้นเป็นสารสังเคราะห์ที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพจริงหรือไม่
- น้ำมันดีเซลสังเคราะห์ชีวมวลมีคุณภาพและผลงานใช้งานอย่างไร
- น้ำมันดีเซลสังเคราะห์ชีวมวลมีหน้าตาเหมือนหรือต่างจากเชื้อเพลิงทั่วไปอย่างไรบ้าง